วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 7 การแก้ไขปัญหาและการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

บทที่ 7 การแก้ไขปัญหาและการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์


ปัญหาข้อขัดข้องจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น ประเภทคือ
1.ปัญหาข้อขัดข้องทางฮาร์ดแวร์
2.ปัญหาข้อขัดข้องทางซอร์ฟแวร์
3.ปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดจากตัวผู้ใช้
รูปแบบการแจ้งเตือนของไบออส มีอยู่ วิธีด้วยกัน คือ
1.การส่งรหัสเสียงปี๊บ (Beep Code)
2.การแจ้งเตือนผ่านข้อความทางจอภาพ
ปัญหาจากเครื่องเปิดไม่ติด ในบางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุที่คาดไม่ถึง เช่น ปลั๊กไฟเสียบไม่แน่น หรือสายสัญญาณที่เสียบอยู่หลวม
ปัญหาจากเครื่องร้อนผิดปกติ สามารถตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้
- ตำแหน่งหรือสถานที่ที่วางเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่าอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกหรือไม่ มีวัตถุอะไรวางปิดช่องระบางอากาศหรือเปล่า -ตรวจดูว่าพัดลมระบายความร้อนยังทำงานดีหรือเปล่า
- ภายในเคส มีสิ่งรกรุงรังอย่างสายไฟ หรือสายเคเบิลต่างๆ ขวางทิศทางการระบายอากาศหรือไม่
ถ้าคอมพิวเตอร์ใช้งานมานานโดยไม่เคยเป่าฝุ่น ให้เปิดฝาเคสแล้วนำออกไปเป่าฝุ่นภายในออก
- กรณีคอมพิวเตอร์มีการใช้งานมายาวนานหลายปี สารเชื่อมความร้อนอาจเสื่อมสภาพ -กรณีชุดระบายความร้อนซีพียูเดิม ระบายความร้อนได้ไม่ดีพอ ให้เปลี่ยนชุดใหม่ที่มีคุณภาพ




ข้อขัดข้องจากไฟตก สามารถใช้อุปกรณ์ UPS มาใช้แก้ไขปัญหา
ข้อขัดข้องจากอาการจอฟ้า มักเกิดจากอุปกรณ์ฮาร์แวร์ภายในเครื่องมีปัญหาเป็นส่วนใหญ่

ปัญหาจากเครื่องขับดีวีดีไม่ยอมเลื่อนถาดออกมา สามารถนำลวดหนีบกระดาษ แล้วดัดให้เป็นแนวตรง จากนั้นให้สอดลวดเข้าไปใน Eject Pin Hold ถาดรองงจะค่อยๆ ขยับออกมา

ปัญหาจากกระดาษติดภายในเครื่องพิมพ์ ทำให้งานพิมพ์ต้องหยุดชะงักกลางคัน ไม่สามารถพิมพ์ต่อไปได้ จนกว่าจะดำเนินการแก้ไขกระดาษที่ติดอยู่ภายในให้เสร็จสิ้นเสียก่อน การป้องกันและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับงานต่อไปนี้
- การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การทำความสะอาด
- การขนย้าย การจัดทำตารางบำรุงรักษา ให้กันคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ จะช่วยให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยมีทั้งตารางบำรุงรักษารายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายหกเดือน การทำความสะอาดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เกี่ยวข้องกับงานต่อไปนี้
การทำความสะอาดตัวถังเครื่อง
การทำความสะอาดจอภาพ
การเป่าฝุ่นภายในเคส
การทำความสะอาดอะแดปเตอรฺการ์ด
การทำความสะอาดเมาส์
การทำความสะอาดคีบอร์ด
-การทำความสะอาดเครื่องขับและแผ่นซีดี
การทำความสะอาดเครื่องพิมพ์ ไฟฟ้าสถิต เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่มีอากาศแห้ง ความชื้นในอากาศต่ำ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนัง และหากมีการสัมผัสกับวัตถุที่เป็นตัวนำ จะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็ว และถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
 สำหรับวิธีป้องกันคือ
อย่าสัมผัสกับอุปกรณ์อิเล็กหรอนิกส์โดยตรง
ควรสัมผัสตัวถังเครื่องก่อนสัมผัสอุปกรณ์ภายในเพื่อคลายประจุลงดิน
การใส่ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต - การใช้สายรัดข้อมูลป้องกันไฟฟ้าสถิต
การใช้ของป้องกันไฟฟ้าสถิตในการบรรจุอุปรณ์อิเล็กหรอนิกส์์ มลภาวะทางไฟฟ้า ประกอบด้วย
ไฟดับ คือกระแสไฟฟ้าหยุดการทำงานโดยทันที ทำให้อุปกรณ์ไม่สามรถจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อไฟได้อีก
ไฟฟตก เกิดจากแรงดันไฟฟ้าลดต่ำลงชั่วขณะ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชิ้นเกิดออาการติดๆดับๆ
ไฟกระชาก เกิดจากแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นโดยกระทันหันในช่วงเวลาสั้นๆ
ไฟเกิน เกิดจากแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นชั่วขณะหนึ่ง
สัญญาณรบกวน เกิดจากการรบกวนของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นความถี่วิทยุภายในสายส่ง UPS คืออุปกรณ์สำรองไฟฟ้า โดยภายในเครื่องจะมีแบตเตอรี่สำรอง ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าแบบกระแสตรงไว้ใช้งานในยามฉุกเฉิน ครั้นเมื่อไฟฟ้าดับ ก็จะมีเวลาพอในการสั่งบันทึกข้อมูลและสั่งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ
ชนิดของ UPS ประกอบด้วย
1. Off-Line UPS ทำหน้าที่ป้องกันปัญหากรณีไฟฟ้าดับได้เพียงอย่างเดียว
2. On-Line Protection UPS ภายในจะมีระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้า (ไฟเกินและไฟตก) โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Stabilizer ทำหน้าที่ปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
3. True On-Line UPS เป็น UPS ที่มีระบบป้องกันมลภาวะทางไฟฟ้าอย่างครบครันและยังมีระบบสำรองไฟฟ้าที่ยาวนานนับชั่วโมง เหมาะกับธุรกิจอุตสาหกรรมและเคครื่องมือแพทย์
แนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
 1.หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
2.ตั้งค่าระดับความปลอดภัยในโปรแกรมประยุกต์ เพื่อป้องกันไวรัสมาโคร
3.การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
4.ไม่ควรเปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงตัวอยู่
5.ควรตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนใช้งานเสมอ 6.ป้องกันการบันทึกข้อมูลด้วยการ Write Protect

บทที่ 6 การปรับแต่งระบบปฏิบัติการและเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้

บทที่ 6 การปรับแต่งระบบปฏิบัติการและเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้


ในบทนี้ ได้เรียนรู้การปรับแต่งระบบปฏิบัติการ รวมถึงเทคนิคพื้นฐานอื่นๆ อันประกอบด้วย
- การกำหนดไอคอนเพิ่มเติมบนเดสก์ท็อป
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
- การตั้งค่าวันและเวลา


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าวันและเวลาผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าวันและเวลา

- การกำหนดภาพพื้นหลัง ( Background )
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การกำหนดภาพพื้นหลัง ( Background )

- การวางไอคอนโปรแกรมลงบนตำแหน่งที่ต้องการ


- การตั้งค่าพลังงาน ( Power Option)
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าพลังงาน ( Power Option)
- การตั้งค่าให้กับอุปกรณ์เมาส์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าให้กับอุปกรณ์เมาส์
- การแสดงรายละเอียดของสเปกเครื่อง
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแสดงรายละเอียดของสเปกเครื่อง
- การตั้งค่าความละเอียดให้กับจอภาพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าความละเอียดให้กับจอภาพ

- การตั้งค่าอัปเดต

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าอัพเดท
- การตั้งค่าเวลาปิดเครื่องอัตโนมัติ


- การตั้งค่าเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติ


- การตั้งค่า Safe Mode
 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

- การตั้งค่าฟอนต์เพิ่มเติม
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใส่ฟอนต์ฟอนต์เพิ่มเติมผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใส่ฟอนต์ฟอนต์เพิ่มเติม
- การถอนโปรแกรมออกจากเครื่อง


 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การถอนโปรแกรมออกจากเครื่อง
  

- การเชื่อมต่อใช้งาน 2 จอภาพ












- การปิดเครื่องเครื่องใน Windows 8.1
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปิดเครื่องเครื่องใน Windows 8.1

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 การตั้งค่าไบออส

บทที่ 5 การตั้งค่าไบออส


           ไบออส คือเฟิร์มแวร์ที่บบรรจุอยู่ในรอม (แฟลขรอม) ที่ทำหน้าที่การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ซึ้งหากไม่มีอะไรผิดปกติ ก็จะเข้าสู้การโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์มาเก็บไว้หน่วยความจำเพื่อเตรียมความพร้อมในการโต้ตอบใช้งานกับผู้ใช้ แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น โปรแกรมไบออสจะรายงานแจ้งข้อผิดพลาดให้กับผู้ใช้ใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การส่งรหัสเสียงร้องดังบี๊ป กับการแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบบนหน้าจอ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไบออส



          CMOS  (ซีมอส) เป็นชิปหน่วยความจำประเภทหนึ่ง นำมาใช้จัดเก็บข้อมูลเริ่มต้นและค่าต่างๆ ในไบออส โดยจะมีแบตเตอรี่คอยจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ค่าติดตั้งเหล่านั้นยังคงอยู่ ไม่สูญหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง
          หน้าที่หลักของไบออส
          1. ตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
          2. ตั้งค่าสถานะให้กับอุปกรณ์
          3. สรุปรายงานและชนิดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตรวจสอบพบ ด้วยการแสดงออกทางหน้าจอ
          4. เรียกใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เพื่อโหลดเข้าไปยังหน่วยความ               จำหลัก
          จุดประสงค์ของการปรับตั้งค่าในไบออส          1. เพื่อปรับแต่งระบบต่างๆ ให้ตรงตามที่ต้องการ
          2. เพื่อตั้งค่าสถานะอุปกรณ์ต่างๆ
          3. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของเครื่องเร็วขึ้น
          4. เพื่ออัปเดตเฟิร์มแวร์ ในกรณีโปรแกรมในไบออสรวน หรือเพื่อรองรับเทคโนโลยี                   ใหม่ๆ
         การโอเวอร์คล็อกซีพียู เป็นการรีดปีะสิทธิภาพซีพียูตัวที่ใช้งานอยู่เดิมให้มีขีดความสามารถในการประมวลผลสูงขึ้น ในการพิจารณาว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานสามารถโอเวอร์คล็อกหรือได้หรือไม่นั้น จำเป็นต้องดูที่ซีพียูและเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ ว่าสนับสนุนการโอเวอร์คล็อกหรือไม่

บทที่ 4 การติดตั้งระบบปฎิบัติการ ไดร์เวอร์ และโปรแกรมประยุกต์


บทที่ 4 การติดตั้งระบบปฎิบัติการ ไดร์เวอร์ และโปรแกรมประยุกต์


ระบบปฏิบัติการ windows 8.1 เวอร์ชั่นด้วยกัน

          1.windows 8.1 for emerging markets



          2.windows  RT 8.1


          3.windows 8.1


         4.windows 8.1 Pro


5.windows 8.1 Enterprise


        ไมโครซอฟต์ได้จัดเตรียมระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต และ 64 บิตให้เลือกใช้ เช่น windows 8.1 pro 32/64 บิต โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันล้วนถูกออกแบบมาให้รองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต อยู่แล้ว ก็เหลือเพียงแต่เครื่องรุ่นเก่าๆเท่านั้น ที่ยังใช้สภาปัตยกรรมแบบเดิมซึ่งยังเป็นแบบ 32 บิต

       ระบบปฏิบัติการ 64 บิตจะทำงานได้เร็วกว่าระบบ 32 บิต และยังสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นระบบ 32 บิตได้ ขณะที่ระบบ 32 บิตจะไม่สามารถใช้แอปพลิเคชั่นที่ออกแบบสำหรับระบบ 64 บิต
   
      ระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิต มีขีดความสามารถในการรองรับรับขนาดหน่อยความจำได้สูงสุดถึง 512 GB ในขณะที่ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต รองรับได้ไม่เกิน 4 GB   

      ไดรเวอร์ คือโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการสื่อสารอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ไดรเวอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถสื่อสารและรู้วิธีจัดการและควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น

      เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว จึงสามารถติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ๆด้ตามต้องการ

บทที่ 3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

บทที่ 3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์








คู่มือการใช้งาน เป็นเอกสารที่ผู้ผลิตแนบมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ เช่น คู่มือ เมนบอร์ด และ คู่มือซีพียู โดยก่อนลงมือประกอบเครื่องทุกครั้ง ควรอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ในคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งภายในคู่มือนอกจากจะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นนั้น แล้ว ยังระบุถึงวิธีการตั้งค่า การติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกวิธีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ


     ขั้นตอนการประกอบเครื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 11 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

       1.เตรียมเคสคอมพิวเตอร์


 2.ติดตั้งซีพียู

     



 3.ติดตั้งแผงหน่วยความจำ

      

4.ติดตั้งเมนบอร์ดลงในเคส
5.เชื่อมต่อปลั๊กและสวิตช์ต่างๆ

6.ติดตั้งฮาร์ดดิสก์
7.ติดตั้งเครื่องขับดีวีดี



8.ติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ (ถ้ามี)
9.ติดตั้งอะแดปเตอร์การ์ด (ถ้ามี)
10.ปิดฝาเคส
11.ทดสอบการใช้งาน


     เนื่องจากการประกอบเครื่องเป็นการดำเนินกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินงานควรเรียนรู้ การป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในระหว่างการประกอบเครื่องได้แก่


     1. ไฟฟ้าสถิต อาจส่งผลการเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบเครื่อง การได้นำอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ ถือเป็นการป้องกันที่ดี
    2. ในการประกอบเครื่องและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีความแข็งมีน้ำหนัก และมีความคม ดังนั้น ในระหว่างการติดตั้ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการครูด หรือการกระแทกบนอุปกรณ์บนเมนบอร์ดอย่างแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อลายวงจรเมนบอร์ดได้
     3. การยึดแผงเมนบอร์ดเข้ากับตัวถังเครื่อง ควรขันสกรูให้พอรู้สึกตึงมือ ไม่ควรขันแน่นจนเกินไป
    4. สายสัญญาณ สายไฟ และขั้วต่อปลั๊กไฟต่างๆ ภายในเคส จะต้องถูกรวบและรัดให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการเข้าไปขัดกับใบพัดของพัดลม และบดบังทิศทางการระบายอากาศ
    5. ระวังอย่าให้มีเศษวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า หล่นอยู่บนเมนบอร์ดในขณะประกอบเครื่อง

บทที่ 2 การเลือกใช้อุปกรณ์และการจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามลักษณะงาน


บทที่ 2 การเลือกใช้อุปกรณ์และการจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามลักษณะงาน


          เมนบอร์ด เป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน อันได้แก่ซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ และอินเฟชต่างๆ เมนบอร์ดมีหลายรูปแบบตาม Form Factor ต่างๆ เช่น ATX, mATX และ iTX นอกจากนี้ยังมีรุ่นสำหรับใช้งานทั่วไป รุ่นสำหรับโอเวอร์คล็อก และรุ่นสำหรับการเล่นเกม



     ซิปเซต เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับกำหนดสถาปัตยกรรมของเมนบอร์ด ทำหน้าที่กำหนดคุณสมบัติของเมนบอร์ดเกือบทั้งหมด การทำงานของซีพียูจะมีประสิทธิภาพสูงได้จำเป็นต้องพึ่งพาการทำงานของชิปเซตที่มีประสิทธิภาพด้วย 



  ซีพียู คือหน่วยประมวลผลกลาง สำหรับซีพียูที่ใช้งานบนเครื่องซีพีทั่วไป ก็จะมีทั้งจากค่าย Intel และ AMD สำหรับเทคโนโลยีซีพียูในยุคนี้ จะเป็นซีพียูหลายแกน (Multi-Core CRU) ที่ภายในบันจุแกนสมองมากกว่าหนึ่งแกน เพื่อคอยช่วยงานประมวนผล 


   หน่วยความจำหลัก หรือแรม ใช้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลชั่วคราว เพื่อส่งข้อมูลไปยังซีพียูประมวนผล สำหรับแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ DDR3 



     ฮาร์ดดิสก์ คือหน่วยความจำสำรอง นำมาใช้จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูล โดยปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบจานหมุนและ SSD (Solid State Drive) เครื่องขับออปติคัล ในปัจจุบันควรเลือกใช้เครื่องขับแผ่นดีวีดี (DVD-RW Drive) เป็นอย่างต่ำ ที่ได้รวมความสามารถต่างๆ ในการจัดการกับแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี 



          คีย์บอร์ดและเมาส์ เป็นอุปกรณ์พื้อฐานสำหรับป้อนข้อมูลนำเข้า โดยคีย์บอร์ดจะใช้สำหหรับป้อนข้อมูลต่างๆ ส่วนเมาส์จะใช้ชี้ตำแหน่งและคลิกเพื่อเลือกวัตถุหรือสั่งรันโปรแกรม 



          จอภาพคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานในปัจจุบัน ล้วนเป็นจอภาพแบบ LCD ที่ใช้หลอด LED เป็นอุปกรณ์ส่องสว่างจากด้านหลัง (Backlight) แทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์แบบเดิม ทำให้จอภาพสามารถส่องความสว่างได้มากกว่า น้ำหนักเบา ต้นถุนถูกลง และประหยัดพลังงานมากกว่า 
  การ์ดจอภาพ ปกติมักจะออนบอร์ดมาให้พร้อมบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ซึ้งจะใช้งานควบคู่กับซีพียูที่มี GPU บรรจุอยู่ภายใน อย่างไรก็ตาม หากต้องการแสดงผลภาพที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ก็สามารถใช้การ์ดจอแยก ซึ้งมีทั้งการ์ดจอสำหรับเล่นเกม และการ์ดจอสำหรับงานประมวลผลการฟิกโดยเฉพาะ



             การ์ดเสียง เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียง  ซึ่งเมนบอร์ดทั่วไปมักออนบอร์ดพอร์ตออดิโอมาให้อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการพลังเสียงที่มีคุณภาพ ก็สามารถใช้การ์ดเสียงระดับไฮเอนด์ก็ได้ ซึ่งเหมาะกับงานสตูดิโอ หรือเล่นเกม




          การ์ดเครือข่าย หรือพอร์ต LAN ซึ่งมักออนบอร์ดมาให้อยู่แล้วบนเมนบอร์ด นำไปใช้เชื่อมต่อเครือข่าย สำหรับกรณีต้องการใช้การ์ดเครือข่ายแบบไร้สาย ก้สามารถติดตั้งเพิ่มเติมผ่านสล็ตขยายได้




          ลำโพง เป็นอุปกรณ์เอาท์พุตที่ใช้ควบคุมการ์ดเสียง สำหรับลำโพงพื้นฐานที่วไปสามารถใช้ไฟเลี้ยงผ่านพอร์ต USB แต่ถ้าใช้ลำโพงชุดใหญ่ที่มีพลังขับสูง มีซัปวูฟเฟอร์ขับเสียงทุ้ม หรือเป็นลำโพงแบบหลายแชนแนล จะต้องใช้ไฟต่างหาก



          เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลในรุปแบบ Hard Copy ปัจจุบันมีหลายประเภทให้เลือกใช้ เช่น เครื่องพิมพ์แบบดอทเเมทริกซ์, เลเซอร์ และอิงค์เจ็ต




          สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์อินพิตที่นิยมใช้สำหรับการสแกนเอกสารเพื่อจัดเก็บเป็นไฟล์ดิจิตอล




          เครื่องมัลติฟังก์ชัน เป็นอุปกรณ์ทั้งอินพุตและเอาท์พุต โดยเป็นเครื่องที่ผนวกอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งชิ้น ซึ่งโดยมักจะเป็นเครื่องพิมพ์และสแกนเนอร์ภายในตัว หรือบางรุ่นอาจผนวกเครื่องโทรสารมาให้ด้วย



          เพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรคัดเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถื มีคุณภาพ และกำลังวัตต์เต็ม ทั้งนี้หากคุณภาพของซัพพลายไม่ดี จะจ่ายไฟไม่นิ่ง ส่งผลต่ออุปกรณ์สั้นลง


          UPS เป็นอุปกรณ์สำรองไฟกรณีไฟดับ เพื่อให้เราสามารถสั่งบันทึกไฟล์ได้หากเกิดไฟดับขึ้นมา เครื่อง UPS ที่ดี นอกจากสำรองไฟได้แล้ว ควรมีระบบปรับแรงดัน เพื่อป้องกันไฟตก หรือไฟเกิน



          การจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามลักษณะงาน สามารถแบ่งประเภทออกเป็นชุดคอมพิวเตอร์ต่างๆ ดังนี้
          1. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป
          2. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานสำนักงาน
          3. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับโปรแกรมกราฟฟิกและงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
          4. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลกราฟฟิกขั้นสูง
          5. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม

บทที่ 1 ไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา

บทที่ 1 ไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ


4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์(ElectronicDataProcessingManager)- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)

5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันทีหน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา่ แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลเปรียบเทียบง่ายๆ ก็ประมาณว่า แรมก็คล้ายๆ กับคลังขนส่งที่จะเป็นตัวกลางในการขนส่งสินค้า ในทีนี้ก็คือข้อมูลโดยจะทำงานร่วมกับบริษัทแม่ก็คือ ซีพียู (CPU) ที่เป็นตัวกลางในการรีบคำสั่งงานจากลูกค้าเพื่อมาประมวลผลแล้วส่งผลที่ได้ไปให้แรมนั่นเอง

ROM ( Read-only Memory) คือหน่วยความจำถาวร ที่เราสามารถเขียนหรือลบโปรแกรมต่างๆได้ แต่ก็มี ROM บางชนิดไม่สามารถที่จะลบข้อมูลในรอมได้เหมือนกัน ซึ่งROM เป็นหน่วยความจำที่ไม่ต้องการไฟเลี้ยง แม้ไม่มีไฟเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในรอมก็จะไม่หายหรือถูกลบออกจากหน่วยความจำถาวรROM สามารถที่จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. PROM (Programmable ROM) คือหน่วยความจำที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นโปรแกรมที่ถูกบันทึกมาจากโรงงานหรือมาจากผู้ผลิตโดยตรงนั่นเอง2. EPROM (Erasable Programmable ROM) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมใหม่ได้ หน่วยความจำนี้แบ่งย่อยได้อีก 2ประเภท คือ UV PROM และ EEPROM ซึ่งการลบข้อมูลในโปรแกรมจะใช้วิธีการฉายแสงอุลตราไวโลเล็ต เราจะสังเกตอุปกรณ์ที่เป็น EPROM ได้จากลักษณะของอุปกรณ์ที่มีแผ่นกระจกใสๆอยู่ตรงกลางอุปกรณ์3. EAROM (Electrically Alterable ROM) เป็นหน่วยความจำอ่านและลบข้อมูลโปรแกรมได้ด้วยการใช้ไฟฟ้าในการลบซึ่งแตกต่างจากแบบ EPROM ที่ต้องใช้การฉายแสงอุลตราไวโลเล็ตในการลบข้อมูลเฟิร์มแวร์ (firmware) คือโปรแกรมเล็กๆที่เขียนขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ ตอนเปิดเครื่องจะมีการอ่านค่าของเฟิร์มแวร์ การตั้งค่าต่างๆ เมนู ภาษา การควบคุมการทำงานคำสั่งต่างๆ ดังนั้นหากเปรียบเฟิร์มแวร์ก็เหมือนกับไดร์เวอร์ที่ติดตั้งในวินโดส์ว เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ หรือเหมือนกับระบบปฏิบัติการ ( OS) ที่ควมคุมการทำงานตั้งแต่เริ่มทำงาน ควบคุมการสั่งงานของปุ่มต่างๆ อุปกรณ์ที่ได้รับการควบคุมโดยใช้เฟิร์มแวร์ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเล่นเกมส์ เครื่องเล่นเอ็มพีสาม กล้องดิจิตอล พีดีเอ เครื่องปาล์ฒ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ r พรินต์เตอร์ โมเด็ม อุปกรณ์ควบคุมการทำงานเครือข่าย เร้าเตอร์ ซึ่งจะควบคุมการทำงานโดยชิป และในชิปจะมีซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงาน เก็บค่าคำสั่งต่างๆ เมนู ภาษา การเลือกค่าต่างๆ เรียกว่า เฟิร์มแวร์

ซีพียู(CPU:Central Processing Unit)คือ หน่วยประมวลผลกลางในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เจ้าซีพียู(CPU:Central Processing Unit) นี้เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ภายในประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า ซิลิกอน(Silicon)โดยนำซิลิกอนมาเจือกับวัสดุบางชนิดเพื่อให้เกิดสภาวะของการนำไฟฟ้าได้ ซิลิกอนที่ผ่านการเจือเหล่านี้ จะถูกนำมาเรียงต่อกันเป็นทรานซิสเตอร์ ซีพียู(CPU :Central Processing Unit)มีจำนวนหลายสิบล้านตัวเลยทีเดียวครับ มีหน้าที่ คือ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลก็ตาม แม้แต่การทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ต้องอาศัยการสั่งการจากซีพียู(CPU:Central Processing Unit)เสมอ

Graphics Processing unit  (GPU) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้คือ  visual processing unit  (VPU) ซึ่ง GPU มีได้ทั้งที่เป็น การ์ด หรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดก็ได้แต่ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการ์ด  หน้าที่หลักของ GPU ก็คือช่วยในการประมวลการทำงานในด้านภาพกราฟฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหลักการทำงานก็คล้ายกับ CPU แต่จะแตกต่างกันตรงที่ การ์ดแสดงผลสมัยเก่า ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสความนิยมของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GRAPHICS PROCESSING UNIT โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก

ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรองเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสถาปัตยกรรมแบบ CISC นั้น ใช้หลักเกณฑ์ที่ตรงข้ามกับแบบของ RISC แทบจะทั้งหมด เพราะในขณะที่ RISC จะพยายามลดคำสั่งให้มีจำนวนน้อย ๆ และไม่ซับซ้อน แต่ CISC จะพยายามให้มีรูปแบบของคำสั่งต่าง ๆ มากมาย และดูจะซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในเรื่องของคำสั่งการทำงานของ RISC นั้น ก็จะมีค่าเฉลี่ยเป็น 1 คำสั่งต่อ 1 สัญญาณนาฬิกา แต่ในขณะที่ CISC อาจใช้ถึง 100 สัญญาณนาฬิกา เพื่อให้ทำงานให้เสร็จ เพียง 1 คำสั่งสถาปัตยกรรมแบบ RISC นั้นเป็นคำย่อ มาจากคำว่า Reduced Instruction Set Computer ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีชุดคำสั่งน้อยๆ และไม่ซับซ้อน โดยจะมีความหมายตรงกันข้ามกับ CISC หรือ Complex Instruction Set Computer ซึ่งจะชุดคำสั่งที่ซับซ้อนมากมายการออกแบบสถาปัตยกรรม Processor แบบ RISC นั้นจะเน้นการลดจำนวน และ ความลดซับซ้อนของคำสั่งภายใน ( Instruction ) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่เป็นลักษณะการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC อันได้แก่ การจัดการเกี่ยวกับ Cache, การทำ pipeline, superscalar และ อื่นๆDesktop หรือ Desktop Computer คือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล( PC Computer  ) เป็นต้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีการผลิตที่เน้นให้มีความสวยงาม น่าใช้มากยิ่งขึ้น และได้รับความนิยมในการใช้งานมาก เนื่องจากราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆ
http://www.in.techradar.com/photo/
ทาวเวอร์พีซี คือ เป็นพิซีคอมพิวเตอร์ทรงวางตั้ง สามารถวางบนโต๊ะหรือวางบนพื้นก็ได้ออลอินวันพีซี คือ เป็นพิซีแบบตั้งโต๊ะที่ได้รวมอุปกรณ์และจุดเชื่อมต่อต่างๆ มาไว้ที่ตัวจอภาพเพียงจุดเดียว

คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือแลปท๊อปเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือขนาดพกพา หรือในบางครั้งเรียกว่าขนาดสมุดโน้ต เพราะสามารถพกพาติดตัวไปที่ต่าง ๆ ได้สะดวก  ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรีคะ มีน้ำหนักประมาณ 1.5 - 3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อปนะคะ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกำลังได้รับความนิยมมาก เนื่องจากราคาที่ถูกลงกว่าในอดีต

Ultrabook คือ อัลตร้าบุ๊คถูกคิดค้นและพัฒนาโดย บริษัท อินเทล คอร์เปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการคอมพิวเตอร์พกพา ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้โน๊ตบุ๊คทั่วโลก นั่นคือ ความบาง เบา พกพาสะดวก ระยะเวลาการใช้งานบนแบตเตอรี่ที่ยาวนาน และประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม  อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook) ได้ดึงเอาจุดเด่นของโน๊ตบุ๊ค ที่ทำงานได้สะดวกและง่ายดายด้วยการมีคีย์บอร์ดแบบฟูลฟังก์ชั่น และความรวดเร็วในการเปิดเครื่องพร้อมใช้งานของแท็บเล็ต จึงทำให้อัลตร้าบุ๊คใช้งานได้สะดวกและง่ายดาย มีประสิทธิภาพสูง เปิดเครื่องและใช้งานได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลาบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการอีกด้วย

เน็ตบุ๊ก ( Netbook) คือชื่อที่ใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดปกติของเครื่องแล็ปท็อปทั่วไป มีน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น เน็ตบุ๊กโดยทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่อาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐาน เช่นการอ่านเว็บ หรือการใช้อีเมลเครื่องคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊กที่มีการผลิตออกมาจำหน่ายเช่น Acer Aspire One, ASUS Eee PC, HP 2133 Mini-Note, MSI Wind
แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet computer) เรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ตพีซี  หรือ แท็บเล็ต  เป็นคอมพิวเตอร์ที่รวมการทำงานทุกอย่างไว้ในจอสัมผัสโดยใช้ปากกาสไตลัส ปากกาดิจิตอล หรือปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ แต่มีอยู่หรือไม่มีก็ได้[2][3]มีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

 ARM เป็นชุดคำสั่งแบบ 32 - bit (32 – บิต) เป็นสถาปัตยกรรม ISA (ไอ เอส เอ) หรือ Internet Security and Acceleration (อิเทอร์เน็ต ซีคิวริตี้ แอน แอ็คเซลรีชั่น) ที่พัฒนาโดย บริษัท ARM Computers ครับ ARM จึงเป็นที่รู้จักกันเป็น Advanced RISC Machine  ซึ่งก่อนหน้านั้น เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Acorn RISC Machine การผลิต  ARM เป็นโปรเซสเซอร์ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Desktop (เดสท็อป) ซึ่งผลิตโดย Acorn Computers ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ของ ARM ถือครองตลาดในอุตสาหกรรมไอที มีลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ ARM ได้แก่ บริษัท ไอบีเอ็ม และ Apple (แอปเปิล) เป็นต้นPDA ( Personal Digital Assistant คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก , เก็บข้อมูล , เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้ สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลยทีเดียว เช่น การทำ เอกสาร Word, Excel หรือแม้กระทั่งการใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet ) ในการเล่นเว็บ หรือการรับ-ส่ง E-Mail และอีกอย่างที่สำคัญคือสามารถทำงานด้านมัลติมีเดีย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ได้อีกด้วย